วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Green Products in office


       สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หมายถึง สินค้าที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากขั้นตอนการตัดหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การใช้งาน และการจัดการหลังหมดอายุการใช้งานน้อยกว่าเมื่อเทียบกับสินค้าอื่นที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน

       บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หมายถึง ธุรกิจบริการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากขั้นตอนการหาวัตถุดิบ การใช้ทรัพยากรและพลังงานในช่วงการให้บริการและการจัดการของเสียที่เกิดขึ้นจากการให้บริการน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการให้บริการอื่นที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน

       การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หมายถึง การจัดซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือจัดจ้างบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามรายการสินค้าและบริการที่ได้จัดทำเกณฑืข้อกำหนดไว้แล้ว หรือสินค้าที่ได้ฉลากสิ่งแวดล้อม เช่น ฉลากสีเขียว หรือ บริการที่ได้รับรองด้านสิ่งแวดล้อม เช่น โรงแรมที่ได้รับเกียรติบัตรใบไม้สีเขียว

      เพื่อลดปัญหามลพิษและการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ โดยให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคมีส่วนร่วม

โดยมีชุดคู่มือการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการ
ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2557 (โดยกรมควบคุมมลพิษ) ดังนี้


2. เกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

3. รายการสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1)


และเว็บไซต์ในการค้นหารายการสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม http://gp.pcd.go.th/

หมายเหตุ : อ้างอิงข้อมูลทั้งหมดจาก กรมควบคุมมลพิษ


วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559

การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการให้สิทธิพิเศษแก่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)ในการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ตั้งแต่ 10,000 ลิตรขึ้นไป กับส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ


   คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2559 รับทราบมติคณะกรรมการพิจารณาสิทธิพิเศษของหน่วยงานและรัฐวิสาหกิจ ในการประชุมครั้งที่ 5/2558 เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 ที่กำหนดให้สิทธิพิเศษของบริษัทปตท.จำกัด(มหาชน)ในการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมตั้งแต่10,000ลิตรขึ้นไปให้แก่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจอื่นนอกจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นประเภทไม่บังคับ เพื่อให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจอื่นนอกจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีทางเลือกในการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ตั้งแต่ 10,000 ลิตรขึ้นไป


หมายเหตุ : ที่ นร 0505/ว95 ลว.24 มี.ค.59 เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการให้สิทธิพิเศษแก่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)ในการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ตั้งแต่ 10,000 ลิตรขึ้นไป กับส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจอื่น

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สิทธิพิเศษ



โดยมีหน่วยงานที่ได้รับสิทธิพิเศษ ได้แก่

1.สิทธิพิเศษของโรงกลั่นน้ำมันฝาง กรมการพลังงานทหาร
2.สิทธิพิเศษขององค์การสงเคราะหืทหารผ่านศึก (อผศ.)
3.สิทธิพิเศษของสภากาชาดไทย
4.สิทธิพิเศษของโรงพิมพ์ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานตามกฏหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นที่มีกฏหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และโรงพิมพ์ที่อยู่ในความควบคุมของหน่วยงานดังกล่าว
5.สิทธิพิเศษของโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา


หมายเหตุ : 

1. นร 0526/ว155 ลงวันที่ 16 สิงหาคม 255 เรื่อง การทบทวน ปรับปรุง หรือยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับสิทธิพิเศษของหน่วยงานต่างๆ
2. สิทธิพิเศษของหน่วยงาน




วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การดำเนินตรวจสอบการชำระเงินค่าซื้อเอกสารฯ จัดซื้อจัดจ้าง ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)

การดำเนินตรวจสอบการชำระเงินค่าซื้อเอกสารฯ จัดซื้อจัดจ้าง
ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
ตามหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กค.0406.3/ว.68 ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2558 เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการปฏิบัติในการรับเงินกรณีผู้เสนอราคาซื้อเอกสารฯ จัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ กรณีที่หน่วยงานต้องการตรวจสอบรายชื่อผู้ขอซื้อเอกสาร เพื่อตรวจสอบกับบัญชีธนาคาร สามารถดำเนินการได้ดังนี้

1. เข้าสู่ระบบ กรอก รหัสผู้ใช้ (USER) และรหัสผ่าน (PASSWORD)

2. คลิก รายงาน

3. คลิก รายงานรายละเอียดจัดซื้อจัดจ้าง

4. คลิก รายงานการตรวจสอบสถานะ การซื้อซองทางอิเล็กทรอนิกส์

5. ตัวอย่างแสดงรายงานการตรวจสอบการซื้อเอกสารฯ จัดซื้อจัดจ้างของแต่ละงาน
          รายงานการตรวจสอบสถานการณ์ซื้อซองทางอิเล็กทรอนิกส์ จะแสดงรายละเอียดดังนี้
เลขที่โครงการที่จัดซื้อจัดจ้าง พร้อมชื่อโครงการ /ชื่อผู้ค้าที่ได้ทำการชำระเงินแล้ว/ วันที่ซื้อซอง/ จำนวนเงิน (บาท) /ข้อมูลธนาคาร และสถานะการซื้อซอง

รายงานสามารถเรียกได้ทั้ง PDF FILE และ EXCEL file




มื่อได้รายงานดังตัวอย่างนี้แล้ว ให้นำไปตรวจสอบกับรายการในบัญชีธนาคารเพื่อทำการเปรียบเทียบเช็คยอดให้ตรงกัน เพื่อเป็นหลักฐานในการบันทึกข้อมูลการรับเงินและนำส่งรายได้แผ่นดินตามที่กรมบัญชีกลางกำหนดต่อไป

หมายเหตุ : หน่วยงานสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ขอเสนอราคาที่ชำระเงินค่าซื้อเอกสารฯ ได้ภายหลังจากสิ้นสุดวันที่กำหนดให้ยื่นเอกสารเสนอราคา





วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2557

การตรวจรับพัสดุ

         คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ (ข้อ 71) หรือคณะกรรมการตรวจการจ้าง (ข้อ 72) มีหน้าทีี่ตรวจรับพัสดุหรือตรวจการจ้างให้ถูกต้อง เรียบร้อย และลงลายมือชื่อรับรองเพื่อเป็นหลักฐานการตรวจรับให้กับเจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการเบิกจ่ายตามระเบียบเบิกจ่ายเงิน และในหนังสือที่ นร (กวพ) 1305/ว 11948 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2543 มีเพิ่มเติมว่า
         เมื่อคณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือคณะกรรมการตรวจการจ้างได้ตรวจรับพัสดุหรือตรวจการจ้างที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างส่งมอบ พร้อมทั้งส่งมอบหลักฐานการตรวจรับให้แก่เจ้าหน้าที่พัสดุแล้ว ให้เจ้าหน้าที่พัสดุรายงานผลการตรวจรับของคณะกรรมการให้หัวหน้าส่วนทราบภายใน 3 วัน


หมายเหตุ: ที่ นร (กวพ) 1305/ว 11948 ลว.13 ธันวาคม 2543

วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การเบิกจ่ายค่าใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่

            เนื่องด้วยปัจจุบันเทคโนโลยีความทันสมัยมากขึ้น จึงมีมติให้ส่วนราชการสามารถใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในการติดต่อประสานงานเพื่อประโยชน์ของทางราชการได้ โดยมีหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายดังนี้
1. กรณีเป็นวิธีเบิกจ่ายค่าใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (ค่าเช่าเลขหมาย ค่าใช้บริการรวมถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระพร้อมกัน และค่าซ่อมบำรุงรักษา) ต้องเบิกเมื่อได้รับใบแจ้งหนี้ เบิกจากเงินงบประมาณงบดำเนินงานหรือรายจ่ายใดที่มีลักษณะเดียวกัน ให้จัดทำทะเบียนควบคุมการใช้ตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนด
2. อัตราการเบิกจ่าย 
    2.1 ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี 4,000บาท/เดือน
    2.2 ผู้ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดี ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการสถาบัน หัวหน้างานที่มีฐานะเทียบเท่า เบิกได้ 2,000บาท /เดือน
    2.3 ผู้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วย รองคณบดี รองผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการกอง เลขาสำนัก หัวหน้าที่มีฐานะเทียบเท่า เบิกได้ 1,000บาท/เดือน

หมายเหตุ 1.การเบิกจ่ายค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ กระทรวงการคลัง

                 2.การเบิกจ่ายค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ ประกาศมหาวิทยาลัยนเรศวร

การบันทึกบัญชีวัสดุหรือครุภัณฑ์

            การพิจารณาเพื่อการบันทึกบัญชีันั้น มีหลักเกณฑ์ในการบันทึกบัญชีวัสดุหรือครุภัณฑ์ ตามหลักการและนโยบายบัญชีสำหรับหน่วยงานภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด ดังนี้
            1.วัสดุ หมายถึง สินทรัพท์ที่หน่วยงานมีไว้เพื่อใช้ในการดำเนินงานตามปกติ ซึ่งมีมูลค่าไม่สูงและมีลักษณะไม่่คงทนถาวร โดยหน่วยงานจะรับรู้วัสดุคงเหลือในราคาทุน
            2.ครุภัณฑ์ หมายถึง สินทรัพย์ที่หน่วยงานมีไว้เพื่อใช้ในการดำเนินงานมีลักษณะคงทนและมีอายุการใช้งานเกินกว่า 1 ปี โดยให้บันทึกรับรู้ครุภัณฑ์ที่มูลค่าตั้งแต่ 5,000 บาท ขึ้นไปตามราคาทุนเป็นรายการสินทรัพย์ถาวรในบัญชีของหน่วยงาน โดยบันทึกรายละเอียดของครุภัณฑ์ในทะเบียนคุมทรัพย์สินและให้คำนวณค่าเสื่อมราคาประจำปี สำหรับครุภัณฑ์ที่มีมูลค่าไม่ถึง 5,000 บาท ให้บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายประเภทค่าครุภัณฑ์มูลค่าต่ำกว่าเกณฑ์ และให้บันทึกรายการของครุภัณฑ์ดังกล่าวนทะเบียนคุมทรัพย์สิน โดยไม่ต้องคำนวณค่าเสื่อมราคาประจำปี

หมายเหตุ การบันทึกบัญชีวัสดุหรือครุภัณฑ์