วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แนวปฏิบัติในการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง

    ส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆได้มีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อปฏิบัติราชการตามภารกิจของหน่วยงาน และเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 ได้มีแนวทางการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงออกมาให้เป็นแนวปฏิบัติตามหนังสือเวียนที่ กค (กวพ) 0421.3/ว462  เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการจัดซื้อน้ำมันเพลิงเพื่อใช้ในการปฏิบัติราชการตามภารกิจของหน่วยงาน

    การจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นโดยวิธีปกติแล้วจะต้องจัดซื้อตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุหรือระเบียบว่าด้วยการพัสดุของหน่วยงานนั้น ซึ่งตามหนังสือเวียนฉบับนี้ได้มีแนวปฏิบัติว่า

1. การจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจำนวนไม่ถึง 10,000 ลิตรนั้น ต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุหรือระเบียบว่าด้วยการพัสดุของหน่วยงานนั้นๆ จะดำเนินการจัดซื้อโดยวิธีใดก็ขึ้นอยู่กับวงเงินในการจัดซื้อแต่ละครั้งหรือแต่ละกรณี

2. การจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจำนวนตั้งแต่ 10,000 ลิตรขึ้นไป ต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุและต้องจัดซื้อจากปิโตเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันคือ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) หรือคลังน้ำมัน หรือสถานีบริการที่จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) โดยตรงและโดยวิธีกรณีพิเศษเท่านั้น


อ้างอิง : 1.ความหมายของน้ำมันเชื้อเพลิง
              2.แนวทางปฏิบัติในการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง

วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

fleet card คืออะไร

***คือบัตรอะไร ใช้อย่างไร และ มีประโยชน์อย่างไร***

           

            ในส่วนราชการบางหน่วยงานได้มีการนำ  fleet cards มาใช้ในหน่วยงาน แล้วมันคืออะไรหละมาดูความหมายกัน 

             fleet cards หรือเรียกว่าบัตรเติมน้ำมันรถราชกา ที่ออกโดยสถาบันผู้ออกบัตรเติมน้ำมันรถราชการเพื่อใช้สำหรับเติมน้ำมันรถราชการ ซึ่งการใช้งานนั้นหัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้พิจารณาให้มีผู้รับผิดชอบ สามารถนำบัตรนี้ไปใช้งานกับผู้ที่ให้บริการตามเงื่อนไข  fleet cards ของหน่วยงาน


            ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ fleet cards ไม่ว่าจะเป็นประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ จึงถือเป็นอีกทางเลือกที่ส่วนราชการต่างๆจะนำมาใช้ในหน่วยงาน





อ้างอิง:การใช้บัตรเติมน้ำมัน (Fleet Card)

ความหมายของคำว่า "น้ำมันเชื้อเพลิง"


          หน่วยงานต่างๆย่อมมีการใช้ยานพาหนะหรือใช้เครื่องจักร เครื่องมือที่มีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อปฏิบัติราชการตามภารกิจต่างๆของหน่วยงาน เช่น ติดต่อธนาคาร ติดต่อหน่วยงานคลังจังหวัด เดินทางไปราชการโดยเบิกค่าน้ำมันจากหน่วยงาน เติมน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องตัดหญ้า  เป็นต้น

        เพราะฉะนั้นเราต้องรู้ถึงความหมายของคำว่าน้ำมันเชื้อเพลิง ว่ามีความหมายรวมถึงอะไรบ้าง ซึ่งตามพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2543 ให้ความหมายของน้ำมันเชื้อเพลิงว่า

“น้ำมันเชื้อเพลิง” หมายความว่า ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเบนซิน น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับ
เครื่องบิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันหล่อลื่น และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นสิ่งหล่อลื่น ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ หรือสิ่งอื่นที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการกลั่นหรือผลิตเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้น และให้หมายความรวมถึงสิ่งอื่นที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นสิ่งหล่อลื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดให้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา



อ้างอิง:"ความหมายน้ำมันเชื้อเพลิง" พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2543



วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วงจรการจัดหาพัสดุ


วงจรการจัดหาพัสดุ
กำหนดความต้องการ : จัดหา : นำไปใช้ : บำรุงซ่อมแซม : ทำลายหรือจำหน่าย
1. การกำหนดความต้องการพัสดุ ให้คำนึงถึง :-
- กำหนดความต้องการให้พอดี - เป็นความต้องการแท้จริง - พัสดุที่ได้มาต้องทันเวลาใช้ ประเภทของความต้องการพัสดุ
1. ความต้องการขั้นต้น
2. ความต้องการทดแทน
3. ความต้องการสำรอง
4. ความต้องการชดเชยเวลาในการจัดหา
5. ความต้องการพิเศษ
2. การจัดหาพัสดุ : กระบวนการดำเนินการเพื่อให้ได้มา ซึ่งพัสดุที่ต้องการ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การจัดซื้อ (Purchashing) นั่นเอง การกำหนดคุณสมบัติเกี่ยวกับพัสดุก่อนจัดซื้อ 1. คุณสมบัติที่ถูกต้อง ด้านเทคนิค ความประหยัด ความแน่นอน
2. จำนวนที่ถูกต้อง
3. ราคาที่ถูกต้อง
4. เวลาที่ถูกต้อง
5. แหล่งผู้ขายที่ถูกต้อง
6. สถานที่จัดส่ง (คลังพัสดุผู้ซื้อ)
ขั้นตอนการจัดซื้อมีหลายขั้นตอนดังนี้
1. กำหนดความต้องการให้แน่นอน
2. กำหนดรายละเอียดให้ชัดเจน
3. การเดินเรื่องเพื่อขอจัดซื้อ
4. การเจรจากับแหล่งขาย
5. การวิเคราะห์ การประมูล หรือข้อเสนอของผู้ขาย
6. การติดตามเรื่อง
7. การตรวจสอบหลักฐาน
8. การตรวจสินค้า และรวบรวมเอกสาร
3. การแจกจ่าย : ขั้นตอนที่จะต้องจัดระบบควบคุมพัสดุ ก่อนที่จะจ่ายไปยังหน่วยงาน
ต่าง ๆ ที่มาขอเบิกใช้
การควบคุมได้แก่ การควบคุมทางบัญชี และ การควบคุมการจัดสนอง
การเบิกพัสดุ - เป็นหน้าที่ของหน่วยผู้เบิกที่จะเบิกไปใช้ในหน่วยงาน ของตนเอง
ซึ่งจะใช้วิธีการเบิกอย่างไร ให้พิจารณาถึง ความเหมาะสมและความจำเป็น
- บางครั้งหน่วยงานอาจต้องส่งคืนพัสดุ เพราะเบิกเกิน ความต้องการ
หรือยืมไปใช้ชั่วคราว
4. การบำรุงรักษา : การกระทำใด ๆ ที่มุ่งหมายที่จะรักษา ให้ครุภัณฑ์ต่าง ๆ อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ หรือที่ชำรุด กลับคืนสู่สภาพที่ใช้งานได้ ประเภทของการบำรุงรักษา
1. บำรุงรักษาแบบป้องกันเสีย
- การทำความสะอาด
- การตรวจสอบสภาพ
- การปรับแต่ง/หล่อลื่นด้วยน้ำมัน
- การใช้คู่มือการใช้
2. บำรุงรักษาแบบซ่อมแก้ไข
- การแก้ไข
- การซ่อมใหญ่
- การดัดแปลง
- การยุบรวม
5. การจำหน่ายพัสดุ : การปลดเปลื้องความ รับผิดชอบเกี่ยวกับวัสดุ ครุภัณฑ์ออกจาก การควบคุม และความรับผิดชอบของผู้ใช้ หรือฝ่ายบริหารพัสดุ
ประเภทของพัสดุเพื่อการจำหน่าย
1. พัสดุสิ้นเปลือง หมายถึง พัสดุที่นำเอาไปใช้งานแล้ว
- ย่อมหมดสิ้นไม่คงรูป ไม่คงสภาพ/ไม่มีคุณค่าในการ
- ใช้งานเหมือนเดิม
2. พัสดุถาวร
2.1 พัสดุถาวรกำหนดอายุ ได้แก่ รถยนต์
2.2 พัสดุถาวรไม่กำหนดอายุ ได้แก่ เครื่องจักรกล
3. ชิ้นส่วนซ่อม หมายถึงองค์ประกอบ ส่วนประกอบ และชิ้นส่วนที่มีไว้เพื่อการซ่อมบำรุง
สาเหตุของการจำหน่ายพัสดุ
1. การสูญหาย
2. การชำรุด
3. การเสื่อมสภาพ
4. การเกินจำนวน / เหลือใช้
5. การล้าสมัย










วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เบิกจ่าย "จำเป็น เหมาะสมและประหยัด"

"จำเป็น เหมาะสม และประหยัด"

                ในส่วนราชการ การจะกระทำการจัดซื้อจัดจ้างใดๆ  เจ้าหน้าที่ผู้จัดจัดซื้อจัดจ้างจักต้องมีความตระหนักถึง ความจำเป็น ความเหมาะสมและประหยัดทุกครั้ง เพื่อประโยชน์สูงสุดของทางราชการ
               
                มีการกล่าวถึงว่าการจัดซื้อจัดจ้างสิ่งไหนที่กระทำได้หรือไม่ได้มีระเบียบไหมยังไง ในที่นี้มีระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายหมวดของค่าใช้สอย มาฝากกัน
             
                 ค่าใช้สอย ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ พ.ศ.2553 หมวด 2 ค่าใช้สอย ได้กล่าวว่า 

                ค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าใช้สอย ให้หัวหน้าส่วนราชการเบิกจ่ายตามความจำเป็น เหมาะสม ประหยัดและเพื่อประโยชน์ของทางราชการ ทั้งนี้ ตามที่กระทรวงการคลังกำหนดว่า
                
                ค่าใช้จ่ายค่าใช้สอยดังต่อไปนี้ มิให้เบิกจ่าย ได้แก่

1. ค่าจัดทำสมุดบันทึก สมุดฉีกหรือของชำร่วย เนื่องในวโรกาสต่างๆ
2. ค่าจัดพิมพ์ จัดส่ง ค่าฝากส่งเป้นรายเดือน สำหรับบัตรอวยพรในเทศกาลต่างๆและค่าจัดพิมพ์นามบัตร ให้กับบุคลากรภายในส่วนราชการ
3. ค่าพวงมาลัย ดอกไม้ ของขวัญ หรือของเยี่ยมผู้ป่วย เพื่อมอบให้กับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานเอกชน บุคคล เนื่องในโอกาสต่างๆ
4. ค่าทิป
5. เงินหรือสิ่งของบริจาค
6. ค่าใช้จ่ายในการจัดสวัสดิการ หรือการจัดกิจกรรมนันทนาการภายในส่วนราชการ

บทสรุปคือต้องคำนึงถึงความจำเป็นต้องใช้จริง ความเหมาะสม ความประหยัดและประโยชน์อย่างแท้จริงของทางราชการนั้นเป็นสำคัญ

             


วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

e-GP ระยะที่ 2 (วิธีตกลงราคาทำไม่ทำ...ทำไม่ทำ...จบ)

มีกระเเสของเรื่องการทำ e-GP ระยะที่ 2 ของชาวพัสดุมาฝาก อ้างถึง กรมบัญชีกลางได้มีการพัฒนาระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) ระยะที่ 2 เพิ่มเติมจาก e-GP ระยะที่ 1 โดยครอบคลุมกระบวนการจัดซื้อทุกขึ้นตอนนั้น โดยวิธีตกลงราคาก็เป็นหนึ่งในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างซึ่งมีแนวทา่งการปฏิบัติงานในระบบ e-GP ระยะที่ 2 กรณีไหนบ้างของวิธีตกลงราคา
ที่ไม่ต้องเข้าระบบ e-GP ได้แก่

1. วงเงินการจัดหาต่ำกว่าครั้งละ 5,000 บาท

2. การดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 39 วรรค 2 "การซื้อหรือจ้างโดยวิธีตกลงราคาในกรณีที่จำเป็นเร่งด่วนโดยไม่ได้คาดการไว้ก่อนและไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทันให้เจ้าหน้าที่พัสดุหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการนั้นดำเนินไปก่อน แล้วรีบรายงานขอความเห็นชอบต่อหัวหน้าส่วนราชการและเมื่อหัวหน้าส่วนราชการให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ถือรายงานดังกล่าวเป็นหลักบานการตรวจรับโดยอนุโลม" 

3. สำหรับรัฐวิสาหกิน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานในลักษณะเชิงธุรกิจประกอบกับการจัดซื้อจัดจ้าด้วยวิธีตกลงราคาซึ่งมีวงเงินไม่สูง ไม่มีการประกาศเชิญชวนแข่งขันการเสอนราคาเหมือนวิธีสอบราคาและวิธีประกวดราคา ดังนั้น ในชั้นนี้ จึงให้การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีตกลงราคาของรัฐวิสาหกิจยังไม่ต้องบันทึกข้อมูลในระบบ e-GP

4. กรณีที่เป็นเงินโครงการต่างๆของหน่วยงาน และการจ่ายเป็นเงินทดรองราชการ และการซื้อหรือรับจ้างจากบุคคลธรรมดา ไม่ต้องบันทึกข้อมูลในระบบ e-GP


อ้างอิง : ที่ กค 0421.4/ว 294 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 ของกรมบัญชีกลาง (แนวทางการปฏิบัติงานในระบบ e-GP ระยะที่ 2-บททั่วไป)

วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555

คณะกรรมการตรวจรับ

                คณะกรรมการตรวจรับ ในกรณีนี้จะกล่าวถึงกรณีที่เป็น คณะกรรมการตรวจรับวัสดุ ครุภัณฑ์ งานจ้างเหมาบริการ 

คณะกรรมการตรวจรับ ประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการอื่น อย่างน้อยสองคน แต่เดิมนั้นแต่งตั่งคณะกรรมการตรวจรับจากข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป แต่ปัจจุบัน ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2552 ให้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับจากข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย หรือพนักงานของรัฐ โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสำคัญ และในกรณีจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์ของทางราชการจะแต่งตั้งบุคคลอื่นอีกไม่เกินสองคนร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้ 

สำหรับการซื้อจ้างในวงเงินไม่เกิน 10,000 บาท จะแต่งตั้งข้าราชการหรือลูกจ้างประจำคนหนึ่งซึ่งมิใช่ผู้จัดซื้อหรือจัดจ้างเป็นผู้ตรวจรับพัสดุหรืองานจ้างนั้น โดยให้ปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการตรจรับพัสดุ หรือคณะกรรมการตรวจการจ้างก็ได้

เอกสารอ้างอิง :


การตรวจรับพัสดุ


การตรวจรับพัสดุ

                ตามระเบียบฯ พัสดุ ข้อ 71เมื่อผู้ขาย/ผู้รับจ้าง ส่งมอบวัสดุ/ครุภัณฑ์หรืองานจ้างเหมาบริการแล้ว    คณะกรรมการตรวจรับพัสดุต้องดำเนินการตรวจรับวัสดุ/ครุภัณฑ์ /งานจ้างเหมาบริการ   โดยตรวจสอบความถูกต้องของวัสดุ/ครุภัณฑ์/งานจ้างเหมาบริการ   ที่ผู้ขาย/ผู้รับจ้าง ส่งมอบให้ถูกต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในข้อตกลงซื้อหรือข้อตกลงจ้าง

คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ  มีหน้าที่ดังนี้ 

1.ตรวจรับพัสดุ ณ ที่ทำการของผู้ใช้พัสดุนั้น หรือสถานที่ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง  
การตรวจรับพัสดุ ณ สถานที่อื่น ในกรณีที่ไม่มีสัญญาหรือข้อตกลง จะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการก่อน

2. ตรวจรับพัสดุให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักฐานที่ตกลงกันไว้ สำหรับกรณีที่มีการทดลอง
หรือตรวจสอบในทางเทคนิค หรือทางวิทยาศาสตร์ จะเชิญผู้ชำนาญการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพัสดุนั้นมาให้คำปรึกษาหรือส่งพัสดุนั้นไปทดลองหรือตรวจสอบ ณ สถานที่ของผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒินั้นๆ ก็ได้

          3.โดยปกติให้ตรวจรับพัสดุในวันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำพัสดุมาส่งและให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด

      4.เมื่อตรวจถูกต้องครบถ้วนแล้ว  ให้รับพัสดุไว้และถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างได้ส่งมอบพัสดุ
ถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำพัสดุนั้นมาส่ง แล้วมอบแก่เจ้าหน้าที่พัสดุ พร้อมกับทำใบตรวจรับ โดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อยสองฉบับ  มอบแก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง 1 ฉบับ และเจ้าหน้าที่พัสดุ  1 ฉบับ เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินจากคลังและรายงานให้หัวหน้าส่วนราชการทราบ
     
      5.ในกรณีที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างส่งมอบพัสดุถูกต้องแต่ไม่ครบจำนวน หรือส่งมอบครบจำนวน
แต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นให้ตรวจรับไว้เฉพาะจำนวนที่ถูกต้อง  โดยถือปฏิบัติตาม (4) และโดยปกติให้รีบรายงานหัวหน้าส่วนราชการเพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้-รับจ้างทราบภายใน   3 วันทำการ นับแต่วันตรวจพบ แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิ์ของส่วนราชการที่จะปรับผู้ขายหรือผู้รับจ้างในจำนวนที่ส่งมอบไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องนั้น

      6.การตรวจรับพัสดุที่ประกอบกันเป็นชุดหรือหน่วย ถ้าขาดส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่ง
ไปแล้วจะไม่สามารถใช้การได้โดยสมบรูณ์ให้ถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างยังมิได้ส่งมอบพัสดุนั้น และโดยปกติให้รีบรายงานหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่ตรวจพ

      7.ถ้ากรรมการตรวจรับพัสดุบางคนไม่ยอมรับพัสดุ   โดยทำความเห็นแย้งไว้ให้เสนอหัวหน้า
ส่วนราชการเพื่อพิจารณาสั่งการ ถ้าหัวหน้าส่วนราชการสั่งการให้รับพัสดุนั้นไว้  จึงดำเนินการตาม (4) หรือ (5)  แล้วแต่กรณี









จรรยาบรรณของผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ

              เพื่อย้ำเตือนให้กับผู้ปฎิบัติงานตระหนักถึงหน้าที่ ความถูกต้อง มาดูกันว่าจรรยาบรรณที่ควรรู้มีอะไรบ้าง ตามจรรยาบรรณของผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ พ.ศ. 2543 มี 12 ข้อดังนี้ 
. วางตัวเป็นกลางในการดำเนินการเกี่ยวกับการพัสดุ
. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยจิตสำนึก และด้วยความโปร่งใส สามารถให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตรวจสอบได้ทุกเวลา
. มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเอง และพัฒนางาน โดยเรียนรู้ถึงเทคนิควิทยาการใหม่ ๆ เพิ่มเติมอยู่เสมอ และนำมาปฏิบัติงานให้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดียิ่งขึ้น
. ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดถือกฎหมาย กฎ ระเบียบปฏิบัติของทางราชการอย่างเคร่งครั
. ดำเนินการให้มีการใช้จ่ายเงิน และทรัพย์สินของหน่วยงานอย่างประหยัด คุ้มค่า และให้เกิดประโยชน์สูงสุด
. คำนึงถึงประโยชน์ของหน่วยงานและประโยชน์ของส่วนรวมของราชการเป็นหลัก โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ยุติธรรมและความสมเหตุสมผลประกอบด้วย
. ฏิบัติงานร่วมกับผู้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงานด้วยความเอาใจใส โดยให้ความร่วมมือช่วยเหลือในเรื่องการให้ความคิดเห็นตามหลักวิชาการ แก้ไขปัญหาร่วมกัน และการพัฒนางาน
. ไม่เรียก รับ หรือยอมรับทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อย่างใดทั้งโดยตรงและโดยอ้อมจากผู้ขาย ผู้รับจ้าง หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่เข้ามามีนิติสัมพันธ์กับทางราชการเกี่ยวกับการพัสดุ เพื่อตนเองหรือ   ผู้อื่นโดยมิชอบ
. ปฏิบัติต่อผู้ขาย ผู้รับจ้าง หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่เข้ามามีนิติสัมพันธ์กับทางราชการเกี่ยวกับการพัสดุ รวมถึงการรับฟังผู้มาร้องเรียน ร้องทุกข์ ด้วยความเป็นธรรม เอื้อเฟื้อ มีน้ำใจ แต่ทั้งนี้ การปฏิบัติ
ดังกล่าวต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม
๑๐. ให้ความร่วมมือกับทุกฝ่ายในการเสริมสร้างมาตราฐานการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับงานด้านพัสดุ ให้สามารถพัฒนางานจนเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นวิชาชีพเฉพาะสาขาหนึ่ง
๑๑. ผู้บังคับบัญชาด้านพัสดุพึงใช้ดุลพินิจในการปฏิบัติงาน และในการส่งเสริม สนับสนุน
การให้คำปรึกษา คำแนะนำ และรับฟังความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานอย่างมีเหตุผล
๑๒. ผู้บังคับบัญชาด้านพัสดุพึงควบคุม ตรวจสอบ ดูแล และกำชับให้ผู้ปฏิบัติงาน ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณนี้อย่างเคร่งครัด ในกรณีที่พบว่ามีการประพฤติปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามจรรยาบรรณนี้ ให้ดำเนินการตามควรแก่กรณี เพื่อให้มีการดำเนินการให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณนี้ต่อไป

ที่มา:หนังสือที่ นร (กวพ๑๓๐๕/ว ๒๓๒๔ ลง ๑๓ มี..๔๓ 

วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วิธีตกลงราคา

วิธีตกลงราคา  (ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ  พ.ศ.  2535) เป็นวิธีจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท และผู้ซื้อสามารถติดต่อกับผู้ค้าได้โดยตรง  มีการเปรียบเทียบราคาของผู้ค้า แล้วจึงตัดสินใจซื้อ/จ้าง ต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของหน่วยงาน

การจัดทำใบสั่งซื้อ/จ้าง 
ในส่วนของมหาวิทยาลัยนเรศวรได้มีการทำข้อตกลงในหน่วยงานดังนี้
1.กรณีเงินรายได้
          1.1 ซื้อ วงเงิน 10,000 บาท ขึ้นไป ให้ทำใบสั่งซื้อ
          1.2 จ้าง วงเงิน 5,000 บาท ขึ้นไป ให้ทำใบสั่งจ้าง + ติดอากรแสตมป์
2.กรณีเงินงบประมาณแผ่นดิน
          2.1 ซื้อ วงเงิน 5,000 บาท ขึ้นไป ทำใบสั่งซื้อ
          2.2 จ้าง วงเงิน 5,000 บาท ขึ้นไป ทำใบสั่งจ้าง + ติดอากรแสตมป์

หมายเหตุ การจ้างทำของต้องติดอากรแสตมป์
***ติดอากร พันละ 1 บาท*** หมายถึง จ้างทำของทุกๆ 1,000 บาท จะเท่ากับอากรแสตมป์ 1 บาท และเศษของ 1,000 ก็ให้คิดเป็นอากรแสตมป์ 1 บาท เช่น จ้างทำของ 55,200บาท ต้องติดอากรแสตมป์จำนวน 56 บาท

คณะกรรมการตรวจรับนั้น ให้ดูวงเงินในการจัดซื้อ/จ้าง
1.กรณีซื้อ/จ้าง ในวงเงินไม่เกิน 10,000 บาท กรรมการตรวจรับ 1 คน ขึ้นไป
2.กรณีซื้อ/จ้าง ในวงเงิน 10,000 บาท ขึ้นไป กรรมการตรวจรับ 3 คน