วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

e-GP ระยะที่ 2 (วิธีตกลงราคาทำไม่ทำ...ทำไม่ทำ...จบ)

มีกระเเสของเรื่องการทำ e-GP ระยะที่ 2 ของชาวพัสดุมาฝาก อ้างถึง กรมบัญชีกลางได้มีการพัฒนาระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) ระยะที่ 2 เพิ่มเติมจาก e-GP ระยะที่ 1 โดยครอบคลุมกระบวนการจัดซื้อทุกขึ้นตอนนั้น โดยวิธีตกลงราคาก็เป็นหนึ่งในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างซึ่งมีแนวทา่งการปฏิบัติงานในระบบ e-GP ระยะที่ 2 กรณีไหนบ้างของวิธีตกลงราคา
ที่ไม่ต้องเข้าระบบ e-GP ได้แก่

1. วงเงินการจัดหาต่ำกว่าครั้งละ 5,000 บาท

2. การดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 39 วรรค 2 "การซื้อหรือจ้างโดยวิธีตกลงราคาในกรณีที่จำเป็นเร่งด่วนโดยไม่ได้คาดการไว้ก่อนและไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทันให้เจ้าหน้าที่พัสดุหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการนั้นดำเนินไปก่อน แล้วรีบรายงานขอความเห็นชอบต่อหัวหน้าส่วนราชการและเมื่อหัวหน้าส่วนราชการให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ถือรายงานดังกล่าวเป็นหลักบานการตรวจรับโดยอนุโลม" 

3. สำหรับรัฐวิสาหกิน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานในลักษณะเชิงธุรกิจประกอบกับการจัดซื้อจัดจ้าด้วยวิธีตกลงราคาซึ่งมีวงเงินไม่สูง ไม่มีการประกาศเชิญชวนแข่งขันการเสอนราคาเหมือนวิธีสอบราคาและวิธีประกวดราคา ดังนั้น ในชั้นนี้ จึงให้การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีตกลงราคาของรัฐวิสาหกิจยังไม่ต้องบันทึกข้อมูลในระบบ e-GP

4. กรณีที่เป็นเงินโครงการต่างๆของหน่วยงาน และการจ่ายเป็นเงินทดรองราชการ และการซื้อหรือรับจ้างจากบุคคลธรรมดา ไม่ต้องบันทึกข้อมูลในระบบ e-GP


อ้างอิง : ที่ กค 0421.4/ว 294 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 ของกรมบัญชีกลาง (แนวทางการปฏิบัติงานในระบบ e-GP ระยะที่ 2-บททั่วไป)

วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555

คณะกรรมการตรวจรับ

                คณะกรรมการตรวจรับ ในกรณีนี้จะกล่าวถึงกรณีที่เป็น คณะกรรมการตรวจรับวัสดุ ครุภัณฑ์ งานจ้างเหมาบริการ 

คณะกรรมการตรวจรับ ประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการอื่น อย่างน้อยสองคน แต่เดิมนั้นแต่งตั่งคณะกรรมการตรวจรับจากข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป แต่ปัจจุบัน ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2552 ให้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับจากข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย หรือพนักงานของรัฐ โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสำคัญ และในกรณีจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์ของทางราชการจะแต่งตั้งบุคคลอื่นอีกไม่เกินสองคนร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้ 

สำหรับการซื้อจ้างในวงเงินไม่เกิน 10,000 บาท จะแต่งตั้งข้าราชการหรือลูกจ้างประจำคนหนึ่งซึ่งมิใช่ผู้จัดซื้อหรือจัดจ้างเป็นผู้ตรวจรับพัสดุหรืองานจ้างนั้น โดยให้ปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการตรจรับพัสดุ หรือคณะกรรมการตรวจการจ้างก็ได้

เอกสารอ้างอิง :


การตรวจรับพัสดุ


การตรวจรับพัสดุ

                ตามระเบียบฯ พัสดุ ข้อ 71เมื่อผู้ขาย/ผู้รับจ้าง ส่งมอบวัสดุ/ครุภัณฑ์หรืองานจ้างเหมาบริการแล้ว    คณะกรรมการตรวจรับพัสดุต้องดำเนินการตรวจรับวัสดุ/ครุภัณฑ์ /งานจ้างเหมาบริการ   โดยตรวจสอบความถูกต้องของวัสดุ/ครุภัณฑ์/งานจ้างเหมาบริการ   ที่ผู้ขาย/ผู้รับจ้าง ส่งมอบให้ถูกต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในข้อตกลงซื้อหรือข้อตกลงจ้าง

คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ  มีหน้าที่ดังนี้ 

1.ตรวจรับพัสดุ ณ ที่ทำการของผู้ใช้พัสดุนั้น หรือสถานที่ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง  
การตรวจรับพัสดุ ณ สถานที่อื่น ในกรณีที่ไม่มีสัญญาหรือข้อตกลง จะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการก่อน

2. ตรวจรับพัสดุให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักฐานที่ตกลงกันไว้ สำหรับกรณีที่มีการทดลอง
หรือตรวจสอบในทางเทคนิค หรือทางวิทยาศาสตร์ จะเชิญผู้ชำนาญการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพัสดุนั้นมาให้คำปรึกษาหรือส่งพัสดุนั้นไปทดลองหรือตรวจสอบ ณ สถานที่ของผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒินั้นๆ ก็ได้

          3.โดยปกติให้ตรวจรับพัสดุในวันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำพัสดุมาส่งและให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด

      4.เมื่อตรวจถูกต้องครบถ้วนแล้ว  ให้รับพัสดุไว้และถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างได้ส่งมอบพัสดุ
ถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำพัสดุนั้นมาส่ง แล้วมอบแก่เจ้าหน้าที่พัสดุ พร้อมกับทำใบตรวจรับ โดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อยสองฉบับ  มอบแก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง 1 ฉบับ และเจ้าหน้าที่พัสดุ  1 ฉบับ เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินจากคลังและรายงานให้หัวหน้าส่วนราชการทราบ
     
      5.ในกรณีที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างส่งมอบพัสดุถูกต้องแต่ไม่ครบจำนวน หรือส่งมอบครบจำนวน
แต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นให้ตรวจรับไว้เฉพาะจำนวนที่ถูกต้อง  โดยถือปฏิบัติตาม (4) และโดยปกติให้รีบรายงานหัวหน้าส่วนราชการเพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้-รับจ้างทราบภายใน   3 วันทำการ นับแต่วันตรวจพบ แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิ์ของส่วนราชการที่จะปรับผู้ขายหรือผู้รับจ้างในจำนวนที่ส่งมอบไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องนั้น

      6.การตรวจรับพัสดุที่ประกอบกันเป็นชุดหรือหน่วย ถ้าขาดส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่ง
ไปแล้วจะไม่สามารถใช้การได้โดยสมบรูณ์ให้ถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างยังมิได้ส่งมอบพัสดุนั้น และโดยปกติให้รีบรายงานหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่ตรวจพ

      7.ถ้ากรรมการตรวจรับพัสดุบางคนไม่ยอมรับพัสดุ   โดยทำความเห็นแย้งไว้ให้เสนอหัวหน้า
ส่วนราชการเพื่อพิจารณาสั่งการ ถ้าหัวหน้าส่วนราชการสั่งการให้รับพัสดุนั้นไว้  จึงดำเนินการตาม (4) หรือ (5)  แล้วแต่กรณี









จรรยาบรรณของผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ

              เพื่อย้ำเตือนให้กับผู้ปฎิบัติงานตระหนักถึงหน้าที่ ความถูกต้อง มาดูกันว่าจรรยาบรรณที่ควรรู้มีอะไรบ้าง ตามจรรยาบรรณของผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ พ.ศ. 2543 มี 12 ข้อดังนี้ 
. วางตัวเป็นกลางในการดำเนินการเกี่ยวกับการพัสดุ
. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยจิตสำนึก และด้วยความโปร่งใส สามารถให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตรวจสอบได้ทุกเวลา
. มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเอง และพัฒนางาน โดยเรียนรู้ถึงเทคนิควิทยาการใหม่ ๆ เพิ่มเติมอยู่เสมอ และนำมาปฏิบัติงานให้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดียิ่งขึ้น
. ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดถือกฎหมาย กฎ ระเบียบปฏิบัติของทางราชการอย่างเคร่งครั
. ดำเนินการให้มีการใช้จ่ายเงิน และทรัพย์สินของหน่วยงานอย่างประหยัด คุ้มค่า และให้เกิดประโยชน์สูงสุด
. คำนึงถึงประโยชน์ของหน่วยงานและประโยชน์ของส่วนรวมของราชการเป็นหลัก โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ยุติธรรมและความสมเหตุสมผลประกอบด้วย
. ฏิบัติงานร่วมกับผู้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงานด้วยความเอาใจใส โดยให้ความร่วมมือช่วยเหลือในเรื่องการให้ความคิดเห็นตามหลักวิชาการ แก้ไขปัญหาร่วมกัน และการพัฒนางาน
. ไม่เรียก รับ หรือยอมรับทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อย่างใดทั้งโดยตรงและโดยอ้อมจากผู้ขาย ผู้รับจ้าง หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่เข้ามามีนิติสัมพันธ์กับทางราชการเกี่ยวกับการพัสดุ เพื่อตนเองหรือ   ผู้อื่นโดยมิชอบ
. ปฏิบัติต่อผู้ขาย ผู้รับจ้าง หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่เข้ามามีนิติสัมพันธ์กับทางราชการเกี่ยวกับการพัสดุ รวมถึงการรับฟังผู้มาร้องเรียน ร้องทุกข์ ด้วยความเป็นธรรม เอื้อเฟื้อ มีน้ำใจ แต่ทั้งนี้ การปฏิบัติ
ดังกล่าวต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม
๑๐. ให้ความร่วมมือกับทุกฝ่ายในการเสริมสร้างมาตราฐานการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับงานด้านพัสดุ ให้สามารถพัฒนางานจนเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นวิชาชีพเฉพาะสาขาหนึ่ง
๑๑. ผู้บังคับบัญชาด้านพัสดุพึงใช้ดุลพินิจในการปฏิบัติงาน และในการส่งเสริม สนับสนุน
การให้คำปรึกษา คำแนะนำ และรับฟังความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานอย่างมีเหตุผล
๑๒. ผู้บังคับบัญชาด้านพัสดุพึงควบคุม ตรวจสอบ ดูแล และกำชับให้ผู้ปฏิบัติงาน ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณนี้อย่างเคร่งครัด ในกรณีที่พบว่ามีการประพฤติปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามจรรยาบรรณนี้ ให้ดำเนินการตามควรแก่กรณี เพื่อให้มีการดำเนินการให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณนี้ต่อไป

ที่มา:หนังสือที่ นร (กวพ๑๓๐๕/ว ๒๓๒๔ ลง ๑๓ มี..๔๓ 

วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วิธีตกลงราคา

วิธีตกลงราคา  (ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ  พ.ศ.  2535) เป็นวิธีจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท และผู้ซื้อสามารถติดต่อกับผู้ค้าได้โดยตรง  มีการเปรียบเทียบราคาของผู้ค้า แล้วจึงตัดสินใจซื้อ/จ้าง ต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของหน่วยงาน

การจัดทำใบสั่งซื้อ/จ้าง 
ในส่วนของมหาวิทยาลัยนเรศวรได้มีการทำข้อตกลงในหน่วยงานดังนี้
1.กรณีเงินรายได้
          1.1 ซื้อ วงเงิน 10,000 บาท ขึ้นไป ให้ทำใบสั่งซื้อ
          1.2 จ้าง วงเงิน 5,000 บาท ขึ้นไป ให้ทำใบสั่งจ้าง + ติดอากรแสตมป์
2.กรณีเงินงบประมาณแผ่นดิน
          2.1 ซื้อ วงเงิน 5,000 บาท ขึ้นไป ทำใบสั่งซื้อ
          2.2 จ้าง วงเงิน 5,000 บาท ขึ้นไป ทำใบสั่งจ้าง + ติดอากรแสตมป์

หมายเหตุ การจ้างทำของต้องติดอากรแสตมป์
***ติดอากร พันละ 1 บาท*** หมายถึง จ้างทำของทุกๆ 1,000 บาท จะเท่ากับอากรแสตมป์ 1 บาท และเศษของ 1,000 ก็ให้คิดเป็นอากรแสตมป์ 1 บาท เช่น จ้างทำของ 55,200บาท ต้องติดอากรแสตมป์จำนวน 56 บาท

คณะกรรมการตรวจรับนั้น ให้ดูวงเงินในการจัดซื้อ/จ้าง
1.กรณีซื้อ/จ้าง ในวงเงินไม่เกิน 10,000 บาท กรรมการตรวจรับ 1 คน ขึ้นไป
2.กรณีซื้อ/จ้าง ในวงเงิน 10,000 บาท ขึ้นไป กรรมการตรวจรับ 3 คน