วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วงจรการจัดหาพัสดุ


วงจรการจัดหาพัสดุ
กำหนดความต้องการ : จัดหา : นำไปใช้ : บำรุงซ่อมแซม : ทำลายหรือจำหน่าย
1. การกำหนดความต้องการพัสดุ ให้คำนึงถึง :-
- กำหนดความต้องการให้พอดี - เป็นความต้องการแท้จริง - พัสดุที่ได้มาต้องทันเวลาใช้ ประเภทของความต้องการพัสดุ
1. ความต้องการขั้นต้น
2. ความต้องการทดแทน
3. ความต้องการสำรอง
4. ความต้องการชดเชยเวลาในการจัดหา
5. ความต้องการพิเศษ
2. การจัดหาพัสดุ : กระบวนการดำเนินการเพื่อให้ได้มา ซึ่งพัสดุที่ต้องการ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การจัดซื้อ (Purchashing) นั่นเอง การกำหนดคุณสมบัติเกี่ยวกับพัสดุก่อนจัดซื้อ 1. คุณสมบัติที่ถูกต้อง ด้านเทคนิค ความประหยัด ความแน่นอน
2. จำนวนที่ถูกต้อง
3. ราคาที่ถูกต้อง
4. เวลาที่ถูกต้อง
5. แหล่งผู้ขายที่ถูกต้อง
6. สถานที่จัดส่ง (คลังพัสดุผู้ซื้อ)
ขั้นตอนการจัดซื้อมีหลายขั้นตอนดังนี้
1. กำหนดความต้องการให้แน่นอน
2. กำหนดรายละเอียดให้ชัดเจน
3. การเดินเรื่องเพื่อขอจัดซื้อ
4. การเจรจากับแหล่งขาย
5. การวิเคราะห์ การประมูล หรือข้อเสนอของผู้ขาย
6. การติดตามเรื่อง
7. การตรวจสอบหลักฐาน
8. การตรวจสินค้า และรวบรวมเอกสาร
3. การแจกจ่าย : ขั้นตอนที่จะต้องจัดระบบควบคุมพัสดุ ก่อนที่จะจ่ายไปยังหน่วยงาน
ต่าง ๆ ที่มาขอเบิกใช้
การควบคุมได้แก่ การควบคุมทางบัญชี และ การควบคุมการจัดสนอง
การเบิกพัสดุ - เป็นหน้าที่ของหน่วยผู้เบิกที่จะเบิกไปใช้ในหน่วยงาน ของตนเอง
ซึ่งจะใช้วิธีการเบิกอย่างไร ให้พิจารณาถึง ความเหมาะสมและความจำเป็น
- บางครั้งหน่วยงานอาจต้องส่งคืนพัสดุ เพราะเบิกเกิน ความต้องการ
หรือยืมไปใช้ชั่วคราว
4. การบำรุงรักษา : การกระทำใด ๆ ที่มุ่งหมายที่จะรักษา ให้ครุภัณฑ์ต่าง ๆ อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ หรือที่ชำรุด กลับคืนสู่สภาพที่ใช้งานได้ ประเภทของการบำรุงรักษา
1. บำรุงรักษาแบบป้องกันเสีย
- การทำความสะอาด
- การตรวจสอบสภาพ
- การปรับแต่ง/หล่อลื่นด้วยน้ำมัน
- การใช้คู่มือการใช้
2. บำรุงรักษาแบบซ่อมแก้ไข
- การแก้ไข
- การซ่อมใหญ่
- การดัดแปลง
- การยุบรวม
5. การจำหน่ายพัสดุ : การปลดเปลื้องความ รับผิดชอบเกี่ยวกับวัสดุ ครุภัณฑ์ออกจาก การควบคุม และความรับผิดชอบของผู้ใช้ หรือฝ่ายบริหารพัสดุ
ประเภทของพัสดุเพื่อการจำหน่าย
1. พัสดุสิ้นเปลือง หมายถึง พัสดุที่นำเอาไปใช้งานแล้ว
- ย่อมหมดสิ้นไม่คงรูป ไม่คงสภาพ/ไม่มีคุณค่าในการ
- ใช้งานเหมือนเดิม
2. พัสดุถาวร
2.1 พัสดุถาวรกำหนดอายุ ได้แก่ รถยนต์
2.2 พัสดุถาวรไม่กำหนดอายุ ได้แก่ เครื่องจักรกล
3. ชิ้นส่วนซ่อม หมายถึงองค์ประกอบ ส่วนประกอบ และชิ้นส่วนที่มีไว้เพื่อการซ่อมบำรุง
สาเหตุของการจำหน่ายพัสดุ
1. การสูญหาย
2. การชำรุด
3. การเสื่อมสภาพ
4. การเกินจำนวน / เหลือใช้
5. การล้าสมัย










วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เบิกจ่าย "จำเป็น เหมาะสมและประหยัด"

"จำเป็น เหมาะสม และประหยัด"

                ในส่วนราชการ การจะกระทำการจัดซื้อจัดจ้างใดๆ  เจ้าหน้าที่ผู้จัดจัดซื้อจัดจ้างจักต้องมีความตระหนักถึง ความจำเป็น ความเหมาะสมและประหยัดทุกครั้ง เพื่อประโยชน์สูงสุดของทางราชการ
               
                มีการกล่าวถึงว่าการจัดซื้อจัดจ้างสิ่งไหนที่กระทำได้หรือไม่ได้มีระเบียบไหมยังไง ในที่นี้มีระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายหมวดของค่าใช้สอย มาฝากกัน
             
                 ค่าใช้สอย ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ พ.ศ.2553 หมวด 2 ค่าใช้สอย ได้กล่าวว่า 

                ค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าใช้สอย ให้หัวหน้าส่วนราชการเบิกจ่ายตามความจำเป็น เหมาะสม ประหยัดและเพื่อประโยชน์ของทางราชการ ทั้งนี้ ตามที่กระทรวงการคลังกำหนดว่า
                
                ค่าใช้จ่ายค่าใช้สอยดังต่อไปนี้ มิให้เบิกจ่าย ได้แก่

1. ค่าจัดทำสมุดบันทึก สมุดฉีกหรือของชำร่วย เนื่องในวโรกาสต่างๆ
2. ค่าจัดพิมพ์ จัดส่ง ค่าฝากส่งเป้นรายเดือน สำหรับบัตรอวยพรในเทศกาลต่างๆและค่าจัดพิมพ์นามบัตร ให้กับบุคลากรภายในส่วนราชการ
3. ค่าพวงมาลัย ดอกไม้ ของขวัญ หรือของเยี่ยมผู้ป่วย เพื่อมอบให้กับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานเอกชน บุคคล เนื่องในโอกาสต่างๆ
4. ค่าทิป
5. เงินหรือสิ่งของบริจาค
6. ค่าใช้จ่ายในการจัดสวัสดิการ หรือการจัดกิจกรรมนันทนาการภายในส่วนราชการ

บทสรุปคือต้องคำนึงถึงความจำเป็นต้องใช้จริง ความเหมาะสม ความประหยัดและประโยชน์อย่างแท้จริงของทางราชการนั้นเป็นสำคัญ